แบบทดสอบบทที่2

           1. ข้อใดเป็นลักษณะร่วมของการใช้เสียงพูดและการใช้ตัวเขียนในการสื่อสาร

1. อวัยวะที่ใช้ในการสื่อสาร
2. อวัยวะที่ใช้ในการรับสาร
3. ตัวสาร
4. ความคงทนของสาร
คลิกดูเฉลย  
2. เหตุใดจึงไม่จัดภาษาเขียนไว้ในภาษาในความหมายอย่างแคบ
1. ภาษาเขียนมีความแน่นอนน้อยกว่าภาษาพูด
2. บางภาษายังไม่มีภาษาเขียน
3. ภาษาเขียนไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้
4. ภาษาพูดมีมาก่อนภาษาเขียน
คลิกดูเฉลย3. กลุ่มคำในข้อใดแสดงให้เห็นว่าเสียงและความหมายในแต่ละภาษาไม่สัมพันธ์กัน
1. ผู้หญิง นารี สตรี กัลยา
2. เคียด แค้น ขุ่น ขึ้ง
3. ตุ๊กแก ฉู่ฉี่ โครม ทุ่ม
4. เก เข เย้ เป๋
คลิกดูเฉลย4. หน่วยที่เล็กที่สุดของภาษาคือข้อใด
1. เสียงสระ
2. เสียงพยัญชนะ
3. พยางค์
4. ถูกทั้ง 1. และ 2.
คลิกดูเฉลย5. ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. ถึงแม้ว่าจะมีเสียงจำกัด เราไม่สามารถสร้างประโยคที่ยาวที่สุดได้
2. ในแต่ละภาษา หน่วยที่ใหญ่กว่าสามารถจำแนกเป็นหน่วยที่เล็กกว่าได้เสมอ
3. ภาษาเป็นพฤติกรรมการสื่อสารแบบที่ต้องเรียนรู้ซึ่งผู้ใช้กำหนดขึ้นเองทั้งระบบ
4. เนื่องจากภาษาใช้เสียงสื่อสารทำให้ผู้ใช้ภาษาต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ทั้งหมด
คลิกดูเฉลย6. การที่คนบางกลุ่มออกเสียงคำว่า “เต้าเจี้ยว” เป็นคำว่า “เจ้าเจี้ยว” แสดงว่าภาษามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
1. เกิดการกร่อนเสียง
2. เกิดการผลักเสียง
3. เกิดการกลมกลืนเสียง
4. เกิดการสลับที่ของเสียง
คลิกดูเฉลย7. คำในข้อใดมีการเปลี่ยนแปลงต่างจากคำอื่น
1. มะพร้าว
2. กระดุม
3. วะวับ
4. ตะเข้
คลิกดูเฉลย8. ข้อใดไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา
1. การแปรของภาษาตามระดับภาษาและสถานการณ์
2. การพูดในชีวิตประจำวัน
3. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
4. อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
คลิกดูเฉลยใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 9-10
ร้าง ศาสตร์ ฉก หยุด เพชร วุ่น เพศ
สั่ง ชาติ พากย์ ภาพ อยาก เมฆ ค่ำ
ผัด ซัด เวร ซึ้ง พรรค ด้วง โรค
หนอน เพล ยาก หญิง เลข ลิ้น ฉัตร
9. คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกันตั้งแต่ 3 คำขึ้นไปมีทั้งหมดกี่ชุดคำ
1. 5 ชุด
2. 4 ชุด
3. 3 ชุด
4. 2 ชุด
คลิกดูเฉลย10. คำที่มีเสียงสระ “เอ” มีทั้งหมดกี่คำ
1. 7 คำ
2. 6 คำ
3. 5 คำ
4. 4 คำ
คลิกดูเฉลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รามเกียรติ์

เป็นการเล่าแนะนำตัวละครสำคัญทุกพงศ์ คือกำเนิดตัวละคร แล้วดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น กล่าวถึงเรื่องหิรันต์ยักษ์ม้วนแผ่นดิน จนพระนารายณ์อวตารลงไปปราบ แล้วกล่าวถึงราชวงศ์มนุษย์ อสูรพงศ์ และวานรพงศ์ ราชวงศ์มนุษย์ มีท้าวอโนมาตัน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา อภิเษกกับนางมณีเกสร มีโอรสชื่อท้าวอัชบาล ได้รับมอบราชสมบัติสืบต่อมา และได้อภิเษกกับนางอัปสร มีโอรสชื่อท้าวทศรถ อสูรพงศ์ มีท้าวสหบดีพรหมสร้างเมืองลงกา แล้วให้ท้าวธาดาพรหม หรือท้าวจตุพักตร์ไปครองเมืองลงกา และได้อภิเษกกับนางมลิกา ต่อมามีโอรสชื่อท้าวลัสเตียนได้รับมอบราชสมบัติสืบต่อมา ท้าวลัสเตียนมีมเหสี 5 พระองค์ มีโอรสที่เกิดจากมเหสีแต่ละองค์คือ กุเปรัน เป็นโอรสที่เกิดจากนางศรีสุนันทา ทัพนาสูรเป็นโอรสที่เกิดจากนางจิตรมาลา อัศธาดาเป็นโอรสที่เกิดจากนางสุวรรณมาลัย มารันเป็นโอรสที่เกิดจากนางวรประไภ ส่วนนางรัชฎามเหสีองค์ที่ 5 กำเนิดโอรสธิดารวม 7 พระองค์คือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ ตรีเศียร และนางสำมนักขา ตามลำดับ ส่วนวานรพงศ์ได้กล่าวถึงกำเนิดของพาลี ว่าเป็นลูกของพระอินทร์กับนางกาลอัจนากำเนิดของสุครีพ ว่าเป็นลูกของพระอาทิตย์กับนาง กาลอัจนา หนุมานเป็นลูกของพระพายกับนางสวาหะ นางสวาหะเป็นบุตรีของฤาษีโคดมกับนางกาลอัจนา ชมพูพาน ซึ่งพระอิศวรชุบด้วยเหงื่อไคลของพระองค์ และกล่าวถึงกำเนิดของนางมณโฑที่ฤาษีทั้ง 4 ตน ได้ชุบมาจากกบ และองคต ซึ่งเป็นลูกของพาลีกับนางมณโฑ