วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559


ปลาบู่ทอง

ชายหาปลาผู้หนึ่งนามว่า “ ทารก (ทาระกะ)” มีภรรยาสองคน คือ “ กนิษฐา ” และ “ กนิษฐี ” นางกนิษฐามีลูกสาวคนเดียวชื่อว่า “ เอื้อย ” ส่วนนากนิษฐีนั้นมีลูกสาวสองคน คือ “ อ้าย ” กับ “ อี ”
ชายหาปลามีใจลำเอียงไม่ชอบภรรยาหลวงและลูกสาวของนาง จึงมักจะดุค่าและบังคับให้ทำงานหนักทุกวัน ในขณะที่นางกนิษฐีเป็นที่ชื่นชอบมากกว่า จึงใช้ชีวิตอยู่อย่างสบายและไม่ต้องทำงานหนักเหมือนอย่างสองแม่ลูกคู่นั้น อย่างไรก็ตาม ทั้งนางกนิษฐีและลูก ๆ ก็ยังคงเกลียดชังนางกนิษฐาและลูกเอื้อย จึงคอยหาทางกลั่นแกล้งสองแม่ลูกอยู่ตลอดเวลา
ทุก ๆ เช้า ชายหาปลาจะออกไปทอดแหในแม่น้ำ โดยมีภรรยาทั้งสองคนผลัดกันเป็นคนพายเรือไปให้ หลังจากได้ปลามากพอในแต่ละวัน ก็จะนำไปขายที่ตลาดก่อนกลับบ้าน อยู่มาวันหนึ่ง ถึงเวรนางกนิษฐาที่ต้องทำหน้าที่พายเรือให้สามีในขณะหาปลา แต่ว่าวันนั้นไม่ได้ปลาสักตัวเดียวนอกจากปลาบู่ทองตัวหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าชายหาปลาจะพยายามอย่างไร ก็ยังคงทอดแหได้แต่ปลาบู่ทองตัวเดิม และทุกครั้งที่เขาได้ปลาบู่ขึ้นมาภรรยาของเขาก็จะขอให้เก็บไว้ให้ลูกของตนเลี้ยงเล่นแต่เขาก็จะโยนมันทิ้งไปโดยไม่แยแส  ชายหาปลาโมโหมาก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี จึงบันดาลโทสะอย่างแรงโดยการตบดีนางและผลักนางตกน้ำไป ภรรยาของเขาจึงจมน้ำตายเพราะว่ายน้ำไม่เป็น

ชายหาปลาจึงกลับบ้านเพียงลำพัง และพบเอื้อยกำลังรอแม่ของตนกลับมาอยู่ และเมื่อลูกสาวถามหาแม่ เขาก็ปฏิเสธที่จะบอกความจริง และโกหกว่าแม่ของนางไปอยู่ใต้น้ำและจะกลับมาในอีก 3 วัน อีกทั้งยังสั่งให้ลูกสาวหยุดร้องไห้มิฉะนั้นแม่ของนางจะไม่กลับมาอีกเลย

ลิลิตพระลอ

กล่าวถึงเมืองเหนือสองเมืองที่เป็นศัตรูคู่อริกัน เมืองหนึ่งนั้นมีกษัตริย์พระนามว่า ‘พระลอดิลกราช’ ผู้ครองเมืองแม้นสรวง ส่วนอีกเมืองหนึ่งชื่อว่าเมืองสรอง มีเป็นกษัตริย์นามว่า ‘พิชัยพิษณุกร’
กษัตริย์พิชัยพิษณุกรเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามยิ่ง พระองค์มีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ คือ ‘พระเพื่อนแก้ว’ และ ‘พระแพงทอง’ องค์น้อง เนื่องด้วยปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้เสียทีข้าศึกจนสวรรคต พระราชธิดาทั้งสองจึงสาบานกับเจ้าย่าว่า เมื่อโตขึ้นจะต้องแก้แค้นให้แก่เมืองสรองให้จงได้ หากผิดคำสาบานจะขอตายด้วยคมดาบอาวุธ
เจ้าย่าจึงออกกลอุบายโดยส่งคนไปสีซอเพื่อพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพงให้พระลอฟัง เพื่อล่อให้พระลอมาที่นี่ แต่แล้วก็มีข่าวว่าทัพเมืองพะเยายกไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองทราบเรื่อง จึงสั่งให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์โดยใช้วิธีวางประคำไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ก็ไม่ได้ผล รื่นและโรยจึงตัดสินใจไปขอความช่วยเหลือจากปู่เจ้าสมิงพรายในวันก่อนวันฉลองครองราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่ก็สายไปเพราะปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าไปแล้ว จึงหมดหนทางในการแก้ไขกฤตยามนต์โดยสิ้นเชิง นางทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยดลให้พระลอมาถึงที่หมายเร็วกว่ากำหนด เพื่อจะได้ทูลเตือนให้กลับเมืองของตนไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือจนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันรุ่งขึ้น

ฝ่ายพระลอที่ต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าสมิงพราย ก็เกิดความรู้สึกอยากทอดพระเนตรพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาในฉับพลันทันที เมื่อคิดได้ดังนั้นจึงรีบอำลาพระนางบุญเหลือผู้เป็นพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีผู้เป็นพระมเหสี เพื่อเสด็จไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญผู้เป็นพระพี่เลี้ยงทันที
เหตุเกิดเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือตามคำพระนารายณ์ก่อนนั้นเมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้น ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป ได้แก่ หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะ สุครีพ เกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคต เป็นลูกของพาลีที่เป็นหลานของสุครีพ ชมพูพาน เกิดจากการชุบเลี้ยงของพระอินทร์ นิลพัท เป็นลูกของพระกาฬ ฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฑ์ได้เกิดศึกชิงนางสีดา จนไพร่พลฝ่ายยักษ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก และสุดท้าย ทศกัณฑ์เองก็ถูกพระรามฆ่าตายเช่นเดียวกัน

รามเกียรติ์

เป็นการเล่าแนะนำตัวละครสำคัญทุกพงศ์ คือกำเนิดตัวละคร แล้วดำเนินเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น กล่าวถึงเรื่องหิรันต์ยักษ์ม้วนแผ่นดิน จนพระนารายณ์อวตารลงไปปราบ แล้วกล่าวถึงราชวงศ์มนุษย์ อสูรพงศ์ และวานรพงศ์ ราชวงศ์มนุษย์ มีท้าวอโนมาตัน เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา อภิเษกกับนางมณีเกสร มีโอรสชื่อท้าวอัชบาล ได้รับมอบราชสมบัติสืบต่อมา และได้อภิเษกกับนางอัปสร มีโอรสชื่อท้าวทศรถ อสูรพงศ์ มีท้าวสหบดีพรหมสร้างเมืองลงกา แล้วให้ท้าวธาดาพรหม หรือท้าวจตุพักตร์ไปครองเมืองลงกา และได้อภิเษกกับนางมลิกา ต่อมามีโอรสชื่อท้าวลัสเตียนได้รับมอบราชสมบัติสืบต่อมา ท้าวลัสเตียนมีมเหสี 5 พระองค์ มีโอรสที่เกิดจากมเหสีแต่ละองค์คือ กุเปรัน เป็นโอรสที่เกิดจากนางศรีสุนันทา ทัพนาสูรเป็นโอรสที่เกิดจากนางจิตรมาลา อัศธาดาเป็นโอรสที่เกิดจากนางสุวรรณมาลัย มารันเป็นโอรสที่เกิดจากนางวรประไภ ส่วนนางรัชฎามเหสีองค์ที่ 5 กำเนิดโอรสธิดารวม 7 พระองค์คือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก ขร ทูษณ์ ตรีเศียร และนางสำมนักขา ตามลำดับ ส่วนวานรพงศ์ได้กล่าวถึงกำเนิดของพาลี ว่าเป็นลูกของพระอินทร์กับนางกาลอัจนากำเนิดของสุครีพ ว่าเป็นลูกของพระอาทิตย์กับนาง กาลอัจนา หนุมานเป็นลูกของพระพายกับนางสวาหะ นางสวาหะเป็นบุตรีของฤาษีโคดมกับนางกาลอัจนา ชมพูพาน ซึ่งพระอิศวรชุบด้วยเหงื่อไคลของพระองค์ และกล่าวถึงกำเนิดของนางมณโฑที่ฤาษีทั้ง 4 ตน ได้ชุบมาจากกบ และองคต ซึ่งเป็นลูกของพาลีกับนางมณโฑ